การเบิร์นหูฟัง Burn In เป็นอย่างไร

การเบิร์นหูฟัง Burn In หรือการปลดล๊อคหูฟัง

ให้มีคุณภาพที่สูงขึ้นไปอีกขั้นตอนเราซื้อหูฟังมาแรกๆ ตัว Diaphragm ไดร์อาแฟรม หรือตัวขับเสียงของหูฟัง อาจจะแข็งมากๆ พอเราใส่ฟังครั้งแรกเสียงที่ออกมาจะดูแข็งๆ ไม่เหมือนที่เราได้ไปลองรุ่นเดียวกันที่ร้าน เพราะของที่ให้ลองนั้นอาจจะมีการเบิร์นให้เข้าที่เข้าทางมาก่อนอยู่แล้ว

จึงทำให้มีประสิทธิภาพที่สูงตามอย่างที่บางคนหรือบางร้านรีวิวเอาไว้ การเบิร์นหูฟังนั้น จะทำให้ตัว ไดรอาแฟรม นั้นเข้าที่เข้าทางมากขึ้น ไม่กรอบแข็งตัวจนเกินไป การเบิร์นหูฟังมีหลายวิธีหลายแบบที่ถกเถียงกันเป็นอย่างมาก เพราะยังไม่มีสูตรตายตัวอย่างใด เราจะมายกตัวอย่างวิธีการเบิร์นหูฟังแบบง่ายๆ โดยรักษาสภาพหูฟังโดยไม่ให้พัง ดังนี้

1.ใช้ไฟล์ความละเอียดสูง Lossless Audio File

เป็นวิธีที่ยอมรับกันแทบจะทั่วโลกเพราะได้ผลค่อนข้างดี หลักๆให้ไปหาไฟล์เพลงนามสกุล FLAC DSD WAV เป็นต้น แนวเพลงที่แนะนำที่ใช้ในการเบิร์นหูฟังคือแนวเพลง Classic เพราะจะมีเครื่องดนตรีหลายชนิด ทำให้มีเสียงที่ครบถ้วน และ Dynamic ที่ดีมากๆ ค่อนข้างเหมาะอย่างมากในการเบิร์นหูฟังครับ แต่อย่าไปหาไฟล์เสียงที่ใช้สำหรับเบิร์นลำโพง เพราะไดร์อาแฟรมของลำโพงกับไดร์อาแฟรมของหูฟังมีความละเอียดที่ไม่เท่ากัน อาจทำให้ ไดร์อาแฟรมของหูฟังเราเสียหายได้

2.จัด Playlist สำหรับเบิร์น อิน การจัด Playlist

อาจจะเลือกไว้สำหรับ 5-10 เพลง เปิดวนไปวนมาสัก 6-8 ชั่วโมง เพื่อให้เบิร์นหูฟังได้ต่อเนื่อง แต่ไม่ควรเปิดไว้ทั้งวัน เพราะอาจจะก่อให้เกิดการเสียหายต่อไดร์อาแฟรมของหูฟังเราได้ หรือจะพูดให้ถูกคือให้ตัวไดร์อาแฟรมของหูฟังเรา ได้มีเวลาพักบ้าง ไม่ใช้งานหนักจนเกินไป

เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับการเบิร์นหูฟังวิธีที่ยกตัวอย่างมาแนะนำคือวิธีที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้กันเบิร์นหูฟัง ส่วนการเบิร์นที่แท้จิงนั้นไม่มีใครทราบได้เพราะมีมากมายหลายวิธีให้ถกเถียงกันอยู่เรื่อยๆ ก็แล้วแต่เพื่อนๆ ว่าชอบแบบไหนกันบ้าง อันนี้เป็นวิธีที่แนะนำข้างต้นเท่านั้นนะครับ

 

ขอบคุณเรื่องราวเหล่านี้โดย  เครื่องช่วยฟัง