การเบิร์นหูฟัง Burn In เป็นอย่างไร

การเบิร์นหูฟัง Burn In หรือการปลดล๊อคหูฟัง

ให้มีคุณภาพที่สูงขึ้นไปอีกขั้นตอนเราซื้อหูฟังมาแรกๆ ตัว Diaphragm ไดร์อาแฟรม หรือตัวขับเสียงของหูฟัง อาจจะแข็งมากๆ พอเราใส่ฟังครั้งแรกเสียงที่ออกมาจะดูแข็งๆ ไม่เหมือนที่เราได้ไปลองรุ่นเดียวกันที่ร้าน เพราะของที่ให้ลองนั้นอาจจะมีการเบิร์นให้เข้าที่เข้าทางมาก่อนอยู่แล้ว

จึงทำให้มีประสิทธิภาพที่สูงตามอย่างที่บางคนหรือบางร้านรีวิวเอาไว้ การเบิร์นหูฟังนั้น จะทำให้ตัว ไดรอาแฟรม นั้นเข้าที่เข้าทางมากขึ้น ไม่กรอบแข็งตัวจนเกินไป การเบิร์นหูฟังมีหลายวิธีหลายแบบที่ถกเถียงกันเป็นอย่างมาก เพราะยังไม่มีสูตรตายตัวอย่างใด เราจะมายกตัวอย่างวิธีการเบิร์นหูฟังแบบง่ายๆ โดยรักษาสภาพหูฟังโดยไม่ให้พัง ดังนี้

1.ใช้ไฟล์ความละเอียดสูง Lossless Audio File

เป็นวิธีที่ยอมรับกันแทบจะทั่วโลกเพราะได้ผลค่อนข้างดี หลักๆให้ไปหาไฟล์เพลงนามสกุล FLAC DSD WAV เป็นต้น แนวเพลงที่แนะนำที่ใช้ในการเบิร์นหูฟังคือแนวเพลง Classic เพราะจะมีเครื่องดนตรีหลายชนิด ทำให้มีเสียงที่ครบถ้วน และ Dynamic ที่ดีมากๆ ค่อนข้างเหมาะอย่างมากในการเบิร์นหูฟังครับ แต่อย่าไปหาไฟล์เสียงที่ใช้สำหรับเบิร์นลำโพง เพราะไดร์อาแฟรมของลำโพงกับไดร์อาแฟรมของหูฟังมีความละเอียดที่ไม่เท่ากัน อาจทำให้ ไดร์อาแฟรมของหูฟังเราเสียหายได้

2.จัด Playlist สำหรับเบิร์น อิน การจัด Playlist

อาจจะเลือกไว้สำหรับ 5-10 เพลง เปิดวนไปวนมาสัก 6-8 ชั่วโมง เพื่อให้เบิร์นหูฟังได้ต่อเนื่อง แต่ไม่ควรเปิดไว้ทั้งวัน เพราะอาจจะก่อให้เกิดการเสียหายต่อไดร์อาแฟรมของหูฟังเราได้ หรือจะพูดให้ถูกคือให้ตัวไดร์อาแฟรมของหูฟังเรา ได้มีเวลาพักบ้าง ไม่ใช้งานหนักจนเกินไป

เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับการเบิร์นหูฟังวิธีที่ยกตัวอย่างมาแนะนำคือวิธีที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้กันเบิร์นหูฟัง ส่วนการเบิร์นที่แท้จิงนั้นไม่มีใครทราบได้เพราะมีมากมายหลายวิธีให้ถกเถียงกันอยู่เรื่อยๆ ก็แล้วแต่เพื่อนๆ ว่าชอบแบบไหนกันบ้าง อันนี้เป็นวิธีที่แนะนำข้างต้นเท่านั้นนะครับ

 

ขอบคุณเรื่องราวเหล่านี้โดย  เครื่องช่วยฟัง

หูฟัง Wireless ( หูฟังไร้สาย )

ลักษณะของ หูฟัง Wireless ( หูฟังไร้สาย )มีดังนี้

เป็นหูฟังอีกชนิดหรืออีกหนึ่งทางเลือกซึ่งเป็นแบบไร้สาย ลักษณะการใช้งานของหูฟัง Wireless ( หูฟังไร้สาย ) จะทำงานผ่านระบบเชื่อมต่อกับ Bluetooth ระยะการเชื่อมต่อที่ไกลมากขึ้นกว่าแบบหูฟังแบบสายเนื่องจากหูฟังแบบสายจำเป็นจะต้องมีรูเสียบแต่หูฟังแบบ Wireless ต้องการระบบ Bluetooth ช่วยแตกต่างกันออกไป เพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพและง่ายสะดวกสบายยิ่งขึ้น

บางรุ่นมีระบบตัดเสียงรบกวนรอบข้าง และระบบการพูดที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

เพราะหูฟังชนิดนี้จะมีประโยชน์ในการใช้ในการสื่อสารมากที่สุด ตอบโจทย์ผู้คนที่ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในรถยนต์หรือผู้ที่ให้งานบริการในด้านต่างๆ เพราะเป็นสิ่งจำเป็นในการทำงานของบุคคลในปัจจุบันมากในสายงานนั้นๆ อาทิเช่น Call center ร้านอาหาร Drive Thru ต่างๆ ห้างสรรพสินค้า หรือแม้กระทั่ง คนขับรถยนต์ ส่วนใหญ่ล้วนใช้หูฟังแบบ Wireless ทั้งนั้น  ส่วนใหญ่ใช้งานได้ครอบคลุมมากๆ เนื่องจาก ระบบไร้สายทำให้เราสะดวกสบายสามารถฟังเพลงได้

แต่หลักๆที่หูฟังตัวนี้เป็นที่นิยมอย่างมากคือการใช้งานแบบสื่อสารเพราะการที่เราใช้หูฟัง แบบ Wirelees นี้จะทำให้เราพูดคุยสื่อสารในขณะที่เรากำลังยุ่งอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ เช่นการขับรถ เวลามีคนติดต่อสื่อสารเข้ามาเราแค่กดปุ่มที่ข้างหูบางรุ่นหรือกดรับผ่านโทรศัพท์และใช้งานขณะขับรถโดยไม่เป็นอันตรายได้ และหูฟัง Wireless ยังมีประสิทธิภาพค่อยข้างสูงในระดับนึง

หรือเราอาจจะอยากต่อโทรศัพท์มือถือเพื่อฟังเพลงเข้ากับรถยนต์แต่ก็อาจจะใช้โทรศัพท์ในบางกรณีด้วยทำให้เราไม่ต้องถอดหูฟังหรือถอดอย่างใดอย่างนึงออก ข้อเสียของมันคิอหูฟัง Wireless อาจจะไม่เหมาะกับการใช้ฟังเพลงมากนักเนื่องจากบางรุ่นความละเอียดเสียงจะน้อยเนื่องจากสร้างมาเพื่อการใช้งานในการสื่อสารมากกว่าแล้วแต่การใช้งานของบุคคลนั้นๆ

 

สนับสนุนโดย เครื่องช่วยฟัง

ไทรอยด์เป็นพิษ กับอาหารช่วยบรรเทา


ไทรอยด์เป็นพิษ กับอาหารช่วยบรรเทา
“ต่อมไทรอยด์” คือต่อมที่อยู่รอบๆ คอ ข้างหน้าลูกกระเดือก รวมทั้งใกล้กับหลอดลม ปฏิบัติหน้าที่ผลิตฮอร์โมนสำหรับเพื่อการปฏิบัติงานของร่างกาย แต่ว่าปัญหา คือ ถ้าต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนต่อมไทรอยด์ออกมาเยอะไป มีผลเสียกับร่างกาย หรือเรียกว่า “ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ”

“ต่อมไทรอยด์”คือต่อมที่อยู่รอบๆ คอ ข้างหน้าลูกกระเดือก และใกล้กับหลอดลม ปฏิบัติหน้าที่ผลิตฮอร์โมนสำหรับเพื่อการดำเนินงานของร่างกาย แม้กระนั้นปัญหา ที่ต่อมไทรอยด์หลั่งฮอร์โมนต่อมไทรอยด์ออกมามากเกินความจำเป็น จะมีผลให้เป็นผลกระทบกับร่างกาย หรือเรียกว่า “ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ” ทำให้ระบบเผาผลาญของร่างกายทำงานมากขึ้น น้ำหนักตัวน้อยลงอย่างเร็ว ทั้งที่กินอาหารได้มากกว่าธรรมดา อุจจาระ เยี่ยวบ่อยมาก รวมทั้งอาจมีปัญหาสมาธิสั้น

อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคดังที่ได้กล่าวผ่านมาแล้ว พบได้บ่อยในหญิง มากยิ่งกว่าเพศชาย 5-10 เท่า มีตั้งแต่ที่ไม่มีการแสดงอาการอะไรก็ตามไปจนกระทั่งระดับร้ายแรงถึงกับตายได้ โดยผู้เจ็บป่วยมักมีลักษณะคอพอก ด้วยเหตุว่าต่อมไทรอยด์โตขึ้น คนไข้จะรู้สึกหรือมองเห็นก้อนขนาดใหญ่ที่รอบๆคอ บางรายมีลักษณะตาโปนร่วมด้วยเรียกว่า โรคคอพอกตาโปน ซึ่งพบมากที่สุดราวๆ ร้อยละ 60-80 ของผู้เจ็บป่วยต่อมไทรอยด์เป็นพิษทั้งปวง

สำหรับอาการโดยธรรมดา จะอ่อนเพลียง่าย หมดแรง นอนไม่หลับ ใจสั่น มือสั่น ขี้ร้อน อาจมี อารมณ์ผันแปร รำคาญ หงุดหงิดง่าย ร่างกายมีการเผาผลาญสูงขึ้นมากยิ่งกว่าธรรมดา นํ้าหนักตัวลดน้อยลงอย่างเร็ว บางรายอาจมีอาการถ่ายเหลวบ่อยมากเหมือนท้องเดิน กล้ามเนื้ออ่อนล้าโดยยิ่งไปกว่านั้นต้นแขนรวมทั้งต้นขา บางรายเป็นเรื้อรังจนถึงเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น แคลเซียมในเลือดสูง ทำให้กระดูกอ่อนแอ เปลี่ยนเป็นโรคกระดูกพรุน เพราะว่าร่างกายมีฮอร์โมนต่อมไทรอยด์มากไป จนกระทั่งมีผลต่อความสามารถสำหรับเพื่อการซึมซับแคลเซียม

ส่วนภาวการณ์ที่ต่อมไทรอยด์เป็นพิษขั้นวิกฤติ ผู้เจ็บป่วยจะมีลักษณะหัวใจเต้นเร็วมากเปลี่ยนไปจากปกติ จับไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส อ้วก ท้องเดิน ตัวรวมทั้งตาจะเหลือง งงมากมึนหัวอย่างหนัก มีภาวการณ์ขาดน้ำแล้วก็บางทีอาจช็อก หรืออาจมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจวาย โดยเหตุนี้โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษก็เลยเกิดเรื่องที่จะต้องมีความสนใจ ถ้าหากมีลักษณะควรจะรีบมาเจอหมอเพื่อรักษาให้ทันเวลา ถ้าหากรักษาช้าอาจจะทำให้มีอันตรายถึงชีวิตได้

โรคต่อมไทรอยด์ยังเกี่ยวพันกับของกินต่างๆ โดยของกินที่ช่วยบำรุงรักษามี 7 แบบ คือ

1.ไอโอดีน ในปลา หอยกาบ กุ้ง หอยนางรม ไข่ กระเทียม อื่นๆ อีกมากมาย

2.วิตามีนบี ในไข่แดง เครื่องในสัตว์ ปลา เมล็ดพืชต่างๆ ถั่วลันเตา นม เห็ด เม็ดอัลมอนด์

3.ธาตุซีลีเนียม ในปลาทูน่า เห็ด เครื่องในสัตว์ ถั่วเหลือง อื่นๆอีกมากมาย

4.สังกะสี ในเม็ดทานตะวัน เนื้อแกะ ถั่วพีแคน เมล็ดพืชต่างๆหอยนางรม ปลาซาร์ดีน อื่นๆอีกมากมาย

5.ทองแดง ในถั่วเหลือง เห็ดชิตาเกะ ข้าวบาร์เล มะเขือเทศ และดาร์กช็อกโกแลต

6.สารต้านอนุมูลอิสระ ในแครอท ผักโขม ถั่วเลนทิล ถั่วเหลือง ถั่วขาว เครื่องในสัตว์

7.ธาตุเหล็ก ในเครื่องในสัตว์ หอยนางรม ผักโขม ถั่วเหลือง ถั่วขาว แล้วก็เม็ดฟักทอง

แต่การทานอาหาร จำต้องกินให้หลากหลายประการ เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับอะไรบางอย่างมากจนเกินความจำเป็น หรือขาดสารอาหารบางจำพวกมากเกินความจำเป็น ซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบทั้งนั้น

เราจะจัดการกับความเครียดอย่างไรดี

ถึงตัวจะเป็นเด็ก แต่สมองและความคิดก็สามารถพัฒนาได้เรื่อยๆ และย่อมีความเครียดเช่นกัน เป็นเด็กใครว่าสบาย เด็กอย่างเราก็เครียดได้เหมือนกัน เพราะในแต่ละช่วงวัยของอายุ เรามักพบ เรื่องราวต่างๆ เข้ามาให้คิดอยู่เสมอ เรื่องเล็กน้อยของผู้ใหญ่ อาจจะแก้ไม่ตกสำหรับเด็กๆ ก็ได้ ดังนั้น เราไม่ควรสรุปความเครียดของใครว่าเป็นเรื่องเล็กเรื่องใหญ่

ความเครียดที่เกิดตามปกติ จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีสิ่งมากระตุ้น อย่างเช่น มีเรื่องที่ทำให้ไม่สบายใจ มีความสูญเสีย ฯลฯ แต่เมื่อปัญหาเหล่านั้นหายไป ตัวความเครียดก็จะค่อย ๆ หายไปด้วย โดยทุกช่วงวัยมีความเครียดเกิดขึ้นได้ และก็มีความเครียดที่แตกต่างกัน”

การจัดการความเครียดสำหรับวัยต่างๆ
วัยเด็กคงหนีไม่พ้นความเครียดที่เกิดขึ้นจากการเรียน การปรับตัวเข้าสังคมอย่างไรให้เข้ากับเพื่อนได้ เป็นที่ยอมรับ วัยรุ่น อาจมีความเครียดเรื่องจุดมุ่งหมายในชีวิต อนาคตที่จะเกิด การเป็นตัวของตัวเอง ฯลฯ
ช่วงวัยทำงานปัญหาความเครียดอาจเกิดขึ้น ทั้งเรื่องการทำงาน การตัดสินใจเลือกระหว่างทำงานกับการศึกษาต่อ เพราะอายุที่กำลังจะมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้วัยทำงานต่างโหยหายถึงความมั่นคงในชีวิต การดูแลครอบครัว ฯลฯ ในช่วงวัยนี้มักมีความเครียดได้ง่ายทั้งแบบรู้ตัวและไม่รู้ตัวหากดูแลตนเอง ดูแลสุขภาพไม่ดีพอก็อาจมีปัญหาสุขภาพตามมา
ในช่วงวัยใกล้เกษียณหรือหลังวัยเกษียณ ความเครียดจะเปลี่ยนไปจากเดิมจากที่เคยโยหายความมั่นคงในชีวิต วัยนี้ก็จะมีแล้วทุกอย่างซะส่วนใหญ่ แต่ที่เข้ามาแทนที่ความเครียดก็คงหนีไม่พ้นความเหงาเกิดความรู้สึกโดดเดี่ยว จากเคยทำงานก็ไม่ได้ทำงานเหมือนก่อน หรือมีปัญหาสุขภาพ ฯลฯ

การสร้างความสมดุล ผ่อนคลายจากความเครียด อาจแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
1. การดูแลความเครียดสำหรับตัวเราเอง
2. ดูแลความเครียดคนรอบข้าง
ซึ่งความเครียดทั้ง 2 มีความสัมพันธ์กัน คือ การดูแลความเครียดของตนเองสำหรับวัยเด็ก วัยรุ่น ก็อาจจะไม่สามารถจัดการกับความเครียดนี้ได้ จึงต้องพึ่งพาคนรอบข้าง กลับกันในวัยที่เราเป็นผู้ใหญ่ หรือผู้มีความรู้ก็ต้องให้คำปรึกษากับคนอื่น หรือผู้ที่ไม่รู้จะจัดการกับปัญหาดังกล่าวยังไง โดยเฉพาะเมื่อเด็กๆ มีความเครียด เขาอาจไม่บอกใคร ไม่ยอมพูด ผู้ปกครอง คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตพูดคุยให้ความใกล้ชิด ให้คำแนะนำ โดยหากรู้สึกไม่ดี มีปัญหาอะไรก็ต้องบอก อาจบอกกับพ่อ แม่ หรือคนที่ไว้ใจ รวมทั้งสอนวิธีรับมือความเครียด คลายเครียดอย่างถูกวิธี เหมาะสมตามวัย ส่วนช่วงวัยรุ่น ต้องรับฟังให้มากขึ้น และการแก้ปัญหาก็ต้องเหมาะสม

โรคกระดูกอักเสบแก้ไขอย่างไร

หากมีอาการเป็นไข้หนาวสั่น มีอการปวดหรือบวมตามกระดูก หากเคลื่อนไหวได้น้อย หรือมีอาการอ่อนเพลีย บางครั้งเบื่ออาหาร อย่ามองข้ามมันไป เพราะจริง ๆ แล้ว คุณอาจจะกำลังป่วยเป็นโรคกระดูกอักเสบได้

โรคกระดูกอักเสบ คืออะไร?
รองอธิบดีการการแพทย์ และโฆษกกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคกระดูกอักเสบ เกิดจากการที่กระดูกของเราติดเชื้อ ซึ่งโดยทั่วไปมักจะเป็นเชื้อแบคทีเรีย รองลงมาคือเชื้อรา โรคกระดูกอักเสบเกิดสามารถเกิดได้กับกระดูกทุกชิ้นของร่างกายที่พบบ่อย ๆ คือ กระดูกขา เท้า และกระดูกสันหลัง แต่มีความเจาะจงหากกระดูกอักเสบจะพบเพียงตำแหน่งเดียว แต่อาจพบหลายตำแหน่งพร้อมกันได้ นอกจากนี้ยังพบได้ในทุกอายุตั้งแต่เด็กแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ และมีโอกาสเกิดเท่ากันทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย

สาเหตุของโรคกระดูกอักเสบ
สาเหตุของโรคกระดูกอักเสบเกิดได้ 3 ทาง คือ
1. การติดเชื้อจากกระแสเลือด
2. การติดเชื้อจากเนื้อเยื่อหรืออวัยวะใกล้เคียงกระดูกที่อักเสบติดเชื้อ
3. การติดเชื้อจากเนื้อเยื่อกระดูกขาดเลือดจากการไหลเวียนเลือดไม่ดี

โดยอาการที่พบบ่อย ได้แก่ มีไข้หนาวสั่น และปวดบวมตามกระดูกที่อักเสบ หากเคลื่อนไหวกระดูกส่วนที่อักเสบได้น้อย อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ในกระดูกอักเสบเรื้อรังมักมีแผลและหนองไหล ต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียงกับกระดูกอักเสบเจ็บ โต คลำพบก้อน

กลุ่มเสี่ยงโรคกระดูกอักเสบ
นายแพทย์สมพงษ์ ตันจริยภรณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลิดสิน กล่าวว่า ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงจากโรคกระดูกอักเสบ อาทิ
• เกิดอุบัติเหตุ หรือผ่าตัดกระดูกหรือข้อในระยะเวลา 1-3 เดือนก่อนเกิดกระดูกอักเสบ
• ป่วยด้วยโรคที่ทำให้การไหลเวียนเลือดไม่ดี เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดแดงแข็ง
• ผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีดยา
เป็นต้น

การวินิจฉัยโรคกระดูกอักเสบ
แพทย์จะพิจารณาจากประวัติการเจ็บป่วยในด้านกระดูกก่อนอันดับแรก แล้วจากนั้นจึงการตรวจร่างกายในตำแหน่งกระดูกที่มีอาการโดยการเอกซเรย์ การเพาะเชื้อจากหนอง และอาจตัดชิ้นเนื้อกระดูกชิ้นที่มีอาการเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อนำมาวินิจฉัยให้ได้ผลแน่นอนที่สุด

การรักษาโรคกระดูกอักเสบ
การรักษาโรคกระดูกอักเสบ มี 2 วิธีหลัก ได้แก่
1. การให้ยา โดยจะให้ยาฆ่าเชื้อชนิดที่ตรงกับเชื้อที่ตรวจพบ โดยให้ยาทางเลือด แบบหลอดเลือดดำและรับประทานยาฆ่าเชื้อร่วมด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ที่จะประเมินจากชนิดของเชื้อ ความรุนแรงของอาการอักเสบ และสุขภาพทั่วไปของผู้ป่วย
2. การผ่าตัดมีหลากหลายวิธีซึ่งขึ้นอยู่กับความเห็นของแพทย์ ได้แก่ การผ่าตัดปลูกกระดูกใหม่ การตัดขาในกรณีที่เกิดการอักเสบที่กระดูกขาแบบรุนแรงมากและเรื้อรัง
อย่างไรก็ตามเราควรที่จะเรียนรู้แบบ กันไว้ดีกว่าแก้ คือป้องกันไว้ดีกว่ามาตามรักษา ทั้งนี้วิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือ การรักษาความสะอาดของร่างกายและสิ่งของเครื่องใช้อยู่เสมอ คอยระมัดระวังอย่าให้มีดบาดหรือเกิดอุบัติเหตุจนมีแผล โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกอักเสบ ทั้งนี้ผู้ที่มีอาการตามที่กล่าวมาข้างต้นหรือไม่แน่ใจในอาการ ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษาต่อไป

มันหมู อาหารสุขภาพ จริงหรือ

เป็นข่าวมานานแล้วสำหรับการเปิดเผยของนักวิจัยถึง 100 อาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงที่สุดในโลก ที่เป็นที่สนใจของชาวไทยหลายคนคงจะเป็นที่อันดับ 8 เป็น “มันหมู” อาหารที่แพทย์หลายคนเคยบอกเอาไว้ว่าอย่ารับประทานมาก แต่ดันติดโผอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงเสียอย่างนั้น แล้วเราควรรับประทานมันหมูหรือไม่?

สำนักข่าว BBC นำเสนอผลวิจัยจากทีมนักวิทยาศาตร์ที่วิจัยอาหารกว่า 1,000 ชนิด เพื่อวัดคุณค่าทางโภชนาการของอาหารแต่ละชนิดที่คนทั่วไปรับประทาน เแสวงหาอาหารที่ดีต่อสุขภาพที่สุดสำหรับประชากรโลก แล้วเผยแพร่ลงในวารสาร The Plos One ปรากฏว่า 1 ใน 10 อาหารที่มีโภชนาการสูงที่สุดในโลก คือ “มันหมู” ซึ่งได้รับการจัดอันดับให้เป็นอาหารดีต่อสุขภาพอันดับ 8 ของโลก ด้วยคะแนน 73 จาก 100 คะแนน

คุณค่าทางอาหารของ “มันหมู”
ทีมนักวิจัยให้เหตุผลว่ามันหมู เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบีและแร่ธาตุหลายชนิดที่จำเป็นต่อร่างกาย นอกจากนี้ยังมีไขมันไม่อิ่มตัวมากกว่ามันเนื้อและมันแกะด้วย แม้ว่าจะฟังดูเหลือเชื่อ แต่ผลวิจัยนี้ได้รับการรับรองโดยนักโภชนาการจากสิงคโปร์ ซึ่งยืนยันว่ามันหมูประกอบด้วยไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวมากถึงร้อยละ 60 และยังมีกรดโอเลอิค ซึ่งเป็นกรดไขมันจำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งดีต่อหลอดเลือดหัวใจและช่วยบำรุงผิว รวมถึงช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายด้วย

ช้าก่อน! อย่าเพิ่งรีบไปซื้อมันหมูมากิน
ถึงแม้ว่ามันหมูจะมีคุณค่าทางสารอาหารครบ แต่เราก็ต้องบริโภคให้พอดี เพราะมันหมูยังเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูง หากรับประทานมากเกินไปจะทำให้เสี่ยงไขมันอุดตันเส้นเลือดได้เช่นกัน

รับประทานมันหมูให้ปลอดภัย
หากคิดจะรับประทานมันหมู ควรบริโภคส่วนเนื้อ และรับประทานคู่กันกับผัก

  • ใช้วิธีต้ม หรือผัด มากกว่าการย่าง หรือทอด
  • ไม่ควรบริโภคหมูที่ผ่านกรรมวิธีต่างๆ เช่น แฮม โลโลน่า ไส้กรอก ฯลฯ
  • ไม่ควรบริโภคมันหมูมากเกินไป โดยกำหนดว่าไม่เกิน 100 กรัมต่อมื้อ ไม่เกินวันละครั้ง สัปดาห์ละไม่เกิน 3 วัน

เคล็ดลับดูแลตับให้แข็งแรงด้วยวิธีแสนง่ายดาย

เคล็ดลับดูแลตับให้แข็งแรงด้วยวิธีแสนง่ายดาย

ตับวาย ภาวะตับวายนั้นอาจเกิดจากการที่เซลล์ของตับ ได้รับความเสียหายอย่างหนัก และทำให้ตับนั้นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติเหมือนเดิม โดยสาเหตุที่ทำให้ตับเสียหายอาจเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ แต่สาเหตุหลักพบได้บ่อยๆนั่นก็ คือ

– โรคตับแข็ง

– การดื่มสุราปริมาณมากๆเป็นระยะเวลานานๆ

– ตับติดเชื้อจากไวรัส เช่น โรคไวรัสตับอักเสบ B และไวรัสตับอักเสบ C

– พิษจากการรับประทานอาหาร เช่น เห็ดบางชนิด หรือสมุนไพรบางชนิด

– ร่างกายได้รับพิษของโลหะ จากการปนเปื้อนในน้ำดื่ม หรือในอาหาร เช่น ตะกั่ว และทองแดง

– พิษของยาต่างๆ ที่พบได้บ่อยมากที่สุดก็คือ กินยาแก้ปวดพาราเซตามอล (Paracetamol) ในปริมาณมากเกินไปหรือการแพ้ยาแอสไพริน

– ยาเสพติดบางชนิด เกินขนาด เช่น โคเคน

– จ ากโรคมะเร็งตับ หรือโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ และมีการแพร่กระจายมายังตับ

– ประมาณ 10-15% ของผู้ป่วย แพทย์หาสาเหตุไม่ได้

 

โดยตับวายนั้นอาจเกิดได้ 2 ลักษณะตามธรรมชาติและตามความรุนแรงของโรค นั่นก็คือ ตับวายเรื้อรัง และตับวายเฉียบพลัน

 

1. ตับวายเรื้อรัง มีอาการทางสมองที่เกิดจากตับวาย โดยเกิดหลังมีอาการนำ เช่น มีอาการคลื่นไส้ 6 เดือนขึ้นไป โดยเกิดจากโรคตับแข็ง สาเหตุที่มักพบอยู่เป็นประจำ คือ การดื่มสุรา เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์เป็นประจำ หรือจากโรคไวรัสตับอักเสบ ตับวายเฉียบพลันและตับวายเรื้อรัง จะมีสาเหตุ อาการ และวิธีรักษาเช่นเดียวกัน ต่างกันที่ระยะเวลา และความรุนแรงของอาการ

 

2. ตับวายเฉียบพลัน (Acute liver failure) หรือ บางคนอาจจะเรียกว่าตับวายเร็วร้าย หมายถึงตับวายที่เกิดอย่างรวดเร็วไม่ทันตั้งตัวและมีความรุนแรงมาก โดยอาการจะเกิดขึ้นจากทางสมอง ถ้าเกิดอาการทางสมองภายในระยะเวลาไม่เกิน 8 สัปดาห์ ให้เรียกว่า ตับวายเร็วร้าย

 

เนื้องอกมดลูก โรคที่พบบ่อยในผู้หญิง

เนื้องอกมดลูก โรคที่พบบ่อยในสตรีวัยเจริญพันธุ์
เนื่องในวันแม่ที่จะมาถึงนี้ ทางศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ขอนำเสนอโรคที่พบบ่อยทางนรีเวช และมีคนไข้ในกลุ่มนี้เป็นจำนวนมาก บางท่านอาจมีความกังวลเกี่ยวกับเนื้องอกมดลูก หรืออาจมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเนื้องอกมดลูก วันนี้เราจะมาดูกันว่า เนื้องอกมดลูกนั้น มีลักษณะอย่างไร และอาการใดบ้างที่ทำให้สงสัยว่าสาวๆ อาจจะเป็นเนื้องอกมดลูก มาติดตามกันครับ

เนื้องอกมดลูกเป็นโรคที่พบได้บ่อย เกิดจากการเจริญเติบโตที่มากเกินไปของกล้ามเนื้อมดลูก เนื้องอกมดลูกสามารถเกิดได้ทุกตำแหน่งของมดลูก เช่นที่ผิวภายนอกมดลูก, ภายในชั้นกล้ามเนื้อมดลูก หรือ ภายในโพรงมดลูก ก้อนเนื้องอกสามารถเติบโตอย่างช้าๆ หรือรวดเร็วก็ได้ไม่แน่นอน สามารถพบได้ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ บ่อยในช่วงอายุ 30-40 ปี พบได้ร้อยละ 40-70% โดยเฉพาะในรายที่มีประวัติในครอบครัว, อ้วน, เคยมีบุตรมาก่อน

อาการที่ทำให้สงสัยว่าเป็นเนื้องอกมดลูก
1. มีการเปลี่ยนแปลงของรอบเดือน
– ประจำเดือนมานาน, มามาก
– ปวดท้องประจำเดือน ปวดเกร็งหน้าท้อง
– มีเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก
– มีภาวะซีด(จากการเสียเลือด)
2. ปวดท้องน้อย
– ปวดท้องน้อย (ปวดหน่วงๆ , อาจปวดร้าวไปหลัง)
– ปวดท้องน้อยขณะที่มีเพศสัมพันธ์
3. มีภาวะที่เกิดจากก้อนกดเบียด
– ปัสสาวะลำบาก หรือปัสสาวะบ่อย
– ท้องผูก, ปวดหน่วงลงทวารหนัก หรือท้องอืด
4. รู้สึกว่าท้องโตขึ้น หรือคลำได้ก้อนในท้อง
5. แท้งบุตร
6. มีบุตรยาก

ในบางครั้งเนื้องอกมดลูกอาจไม่มีอาการผิดปกติใดๆ อาจจะตรวจพบในขณะตรวจภายในประจำปีก็เป็นได้

สามารถตรวจวินิจฉัยได้อย่างไรบ้าง
เนื้องอกมดลูกสามารถตรวจพบได้จากการตรวจภายใน นอกจากนี้ยังสามารถพบได้จากการตรวจอื่นๆดังนี้ คือ
– อัลตร้าซาวด์ ทำให้สามารถเห็นก้อนเนื้องอกมดลูก, ขนาด, ตำแหน่ง รวมถึงปีกมดลูกและรังไข่
– ส่องกล้องผ่านทางโพรงมดลูก โดยการสอดกล้องขนาดเล็กผ่านปากมดลูกเข้าไปตรวจดูในโพรงมดลูก ซึ่งสามารถจะตรวจดูเนื้องอกมดลูกที่เบียดเข้ามาในโพรงมดลูก ตำแหน่งที่เนื้องอกอยู่ ว่ามีการกดเบียดรูเปิดท่อนำไข่หรือไม่ นอกจากนี้ยังสามารถทำการผ่าตัดเพื่อเอาเนื้องอกมดลูกออกได้อีกด้วย
– การผ่าตัดส่องกล้องทางหน้าท้อง โดยการสอดกล้องขนาดเล็กผ่านผนังหน้าท้องเพื่อช่วยในวินิจฉัยเนื้องอกที่มดลูก และสามารถทำการผ่าตัดเอาเนื้องอกออกมาได้
– การตรวจโดยใช้เอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์(CT)หรือคลื่นแม่เหล็กความถี่สูง(MRI) แต่มักไม่ค่อยนิยมทำกัน จะเลือกทำในบางกรณีเท่านั้น เช่นก้อนที่พบในท้องมีขนาดใหญ่มาก ไม่สามารถแยกแยะจากอวัยวะอื่นๆภายในท้องได้

สำหรับการรักษาเนื้องอกมดลูกนั้น สามารถใช้ยาในกลุ่มฮอร์โมนคุมกำเนิด เพื่อลดอาการปวดท้องและลดปริมาณเลือดที่ออกได้ นอกจากนี้ยังมีการใช้ห่วงอนามัยที่สามารถปลดปล่อยฮอร์่โมนออกมาได้ เมื่อนำมาใส่ในโพรงมดลูก ก็จะสามารถลดปริมาณเลือดที่ออกให้น้อยลง รวมถึงอาการปวดท้องน้อย แต่ไม่อาจทำให้ก้อนยุบลงได้ ส่วนการผ่าตัดเนื้องอกมดลูกจะพิจารณาทำโดยคำนึงถึง ขนาดของก้อน, จำนวน, ตำแหน่งของก้อน, อายุผู้ป่วย, ความต้องการมีบุตร, ความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง เป็นต้น

ถ้าทราบเช่นนี้แล้ว ในวันแม่ที่จะมาถึงนี้ อย่าลืมพาคุณแม่มารับการตรวจภายในประจำปี อย่างน้อยก็เป็นการตรวจคัดกรองไปด้วย ถ้าพบว่ามีเนื้องอกมดลูก จะได้รับคำปรึกษาและแนะนำจากแพทย์อย่างถูกต้องต่อไปครับ

รักการวิ่ง ใส่ใจโภชนาการ

การเตรียมตัวสำหรับนักวิ่ง นอกจากจะมีการฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอแล้ว สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้และจำเป็นอย่างยิ่งคือการรับประทานอาหาร ที่จะช่วยให้นักวิ่งมีพละกำลัง และสะสมพลังงานสำรองไว้ใช้ขณะวิ่ง รวมถึงการชดเชยพลังงาน การฟื้นฟูร่างกายภายหลังจากการวิ่ง ดังนั้น นักวิ่งจึงควรมีการวางแผนการรับประทานอาหารเป็นขั้นตอน ช่วงก่อน ระหว่างและหลังการแข่งขันเพื่อให้ร่างกายฟิตสมบูรณ์ที่สุด มีความทนทานและสามารถวิ่งด้วยสมรรถภาพที่ดีไปตลอดการแข่งขัน ซึ่งแบบแผนการรับประทานอาหารแบ่งออกตามช่วงต่างๆ ดังต่อไปนี้

ช่วงที่ 1 : 5 วันก่อนวิ่ง

การเตรียมตัวช่วง 5 วันก่อนแข่งควรเพิ่มปริมาณคาร์โบไฮเดรตในมื้ออาหารให้สูงขึ้นตามระยะเวลาการฝึกซ้อมหรือระยะที่สอดคล้องกับการแข่งขันเพื่อเป็นการสะสมพลังงานสำรองในรูปไกลโคเจน ร่างกายสามารถสะสมไกลโคเจนที่กล้ามเนื้อ 80% ที่ตับ 14% ส่วนอีก 6% จะอยู่ในรูปของน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือด

จากงานวิจัยของ ดร.Asker Jeukendrupมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ เปรียบเทียบการวางแผนการรับประทานอาหารของนักวิ่ง เป็นระยะเวลา 11 วันก่อนวิ่ง กลุ่มแรก ใช้คาร์โบไฮเดรตต่ำ ร้อยละ41 กลุ่มที่สองใช้คาร์โบไฮเดรตสูงร้อยละ 65 พบว่า กลุ่มนักวิ่งที่ใช้คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 41 รู้สึกเหนื่อย และอ่อนแรงเร็วขึ้น ขณะที่กลุ่มคาร์โบไฮเดรตร้อยละ 65สามารถรักษาระดับพลังงานและสมรรถภาพในการวิ่งไปจนจบการแข่งขันได้ จากงานวิจัยสรุปว่า นักวิ่งที่สะสมไกลโคเจนในร่างกายน้อยมีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพร่างกายที่ลดลง มีความเหนื่อยล้ามากขึ้น

ปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่แนะนำสำหรับนักวิ่ง ช่วงเตรียมตัว 5 วัน ก่อนวิ่ง

ระยะเวลาในการวิ่ง ปริมาณคาร์โบไฮเดรต

  • 30 นาที – 1 ชั่วโมง / วัน 2-4 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
  • 1-3 ชั่วโมง / วัน 4-6 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
  • 3-4 ชั่วโมง / วัน 5-8 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
  • มากกว่า 4 ชั่วโมง / วัน 8-10 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม

ตัวอย่างเช่น นักวิ่งเพศชาย หนัก 70 กิโลกรัม ฝึกซ้อมการวิ่งมาราธอนเป็นเวลา 3-4 ชั่วโมงต่อวัน มีความต้องการคาร์โบไฮเดรตประมาณ 350 – 560กรัมต่อวัน

ตัวอย่างแป้ง ธัญพืช ประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรตในอาหาร 15-18 กรัม

  • ข้าวสวย 5 ช้อนโต๊ะ ก๋วยเตี๋ยวลวก 8 ช้อนโต๊ะ
  • ข้าวเหนียวนึ่ง 3 ช้อนโต๊ะ ข้าวโพด ½ ฝัก
  • ขนมปัง 1 แผ่น ขนมปังเบอร์เกอร์ ½ คู่
  • วุ้นเส้นลวก/เส้นหมี่ลวก 10 ช้อนโต๊ะ มันหวาน / เผือก ½ ถ้วยตวง
  • ข้าวโอ๊ต/ซีเรียล ½ ถ้วยตวง โจ๊ก 1 ถ้วยตวง
  • มักกะโรนี / สปาเก็ตตี้ ½ ถ้วยตวง ข้าวต้ม ¾ ถ้วยตวง
  • แครกเกอร์ 2.5×2.5 นิ้ว 2 แผ่น ขนมจีน 1 จับเล็ก
  • คุ๊กกี้ 2 ชิ้น บราวนี่ 1 ชิ้น
  • โดนัท 1 ชิ้น แยม 1 ช้อนโต๊ะ
  • ช็อคโกแลต 4 ชิ้น วุ้นกะทิ 1 ชิ้น
  • การเลือกชนิดของคาร์โบไฮเดรตที่รับประทานพบว่า การผสมผสานระหว่างคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยวและเชิงซ้อนให้ประสิทธิภาพในการส่งเสริมสมรรถภาพของนักวิ่งได้เป็นอย่างดี

ช่วงที่ 2 : 1 วันก่อนวิ่ง

รับประทานอาหารอาหารปกติ เมนูที่คุ้นเคย หรือที่เคยรับประทานอยู่เป็นประจำให้ครบมื้อ ปริมาณข้าวแป้ง คาร์โบไฮเดรตสูงเท่าเดิมเหมือน 5 วันที่ผ่านมา รับประทานแหล่งของโปรตีนจากเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ ย่อยง่าย เช่น ปลานึ่ง ปลาย่าง ไก่ย่างไม่ติดหนัง ผัดผัก ผักลวก งดรับประทานผักสดและผลไม้ปริมาณมาก งดอาหารประเภท ส้มตำ ยำรสจัด อาหารสุกๆ ดิบๆ อาหารทะเลปิ้งย่าง ปลาดิบ อาหารกากใยสูง ถั่วต่างๆ ปริมาณมาก เนื่องจากอาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย หรือกระตุ้นการขับถ่ายท้องช่วงก่อนวิ่งในวันรุ่งขึ้น

ช่วงที่ 3 : 1-2 ชั่วโมงก่อนวิ่ง

โดยปกติการจัดการแข่งขันวิ่งมาราธอน มักจะจัดขึ้นช่วงเช้ามืด ดังนั้น นักวิ่งควรมีการเตรียมพร้อมร่างกายและเตรียมตัวรับประทานอาหารอย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงก่อนลงทำการแข่งขัน

ตัวอย่างอาหารที่เหมาะสมในช่วงนี้ ควรเป็นอาหารย่อยง่ายให้พลังงานสูง เช่น มันหวาน ข้าวโอ๊ตขนมปังทาแยม แซนวิชทูน่า วาฟเฟิ้ล โดนัท ขนมปังสังขยา ขนมปังลูกเกด ครัวซอง บัตเตอร์เค้ก ข้าวเหนียวหมูหวาน/หมูฝอย ข้าวเหนียวสังขยา โจ๊กใส่ไข่ หลีกเลี่ยงอาหารทอด ไขมันสูง ย่อยยาก กากใยสูง หรือ นักวิ่งบางรายที่ดื่มนมหรือกาแฟตอนเช้ามักจะมีอาการท้องเสีย หรือกระตุ้นการขับถ่าย อาจจะต้องงด กลุ่มนมหรือกาแฟไปก่อนในวันแข่งขัน

ช่วงที่ 4 : ขณะวิ่ง

ร่างกายต้องการคาร์โบไฮเดรต 30-60 กรัมต่อชั่วโมงในการวิ่งเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้การวิ่ง อาหารที่เหมาะสมสำหรับนักวิ่งช่วงนี้ ควรจะอยู่ในรูปแบบน้ำ เจล แบบเม็ดเคี้ยวง่ายๆ ย่อยง่ายไม่หนักท้อง แน่นท้อง เช่น เจลซองพร้อมดื่มสำหรับนักกีฬา เครื่องดื่มเกลือแร่ น้ำผลไม้ ช็อคโกแลต เยลลี่เป็นต้น

ส่วนการดื่มน้ำขณะวิ่ง ไม่ควรดื่มน้ำปริมาณมากทีเดียว เนื่องอาจจะทำให้เกิดการจุก แน่นท้อง ควรจิบปริมาณน้อยๆ เรื่อยๆ ตามจุดที่พักให้น้ำ

ช่วงที่ 5 : หลังวิ่ง ภายใน 1 ชั่วโมง

ภายหลังจากการวิ่งเสร็จ ร่างกายจะเกิดภาวะพร่องไกลโคเจน จึงจำเป็นต้องชดเชยพลังงานที่สูญเสียไปขณะวิ่ง หากได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือช้าไป อาจทำให้ร่างกายเกิดการอ่อนล้า ฟื้นตัวช้า เกิดการบาดเจ็บสะสมได้ง่าย สารอาหารที่จำเป็นอย่างยิ่ง คือ คาร์โบไฮเดรตเพื่อให้พลังงานและเติมไกลโคเจนกลับคืนให้แก่ร่างกาย

อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสม ภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากการวิ่งควรเป็นอาหารที่ย่อยง่าย ดูดซึมเร็ว เพื่อนำไปใช้ชดเชยพลังงานอย่างทันทีทันใด รวมไปถึงแร่ธาตุที่จำเป็นได้แก่โซเดียม ได้แก่ เครื่องดื่มนักกีฬา นมช็อคโกแลต น้ำผลไม้ ขนมปังสังขยา วาฟเฟิ้ล โดนัท บัตเตอร์เค้ก ยังรวมไปถึงผลไม้ ที่มีน้ำมากและแร่ธาตุโพแทสเซียม เช่น แตงโม สับปะรด ส้ม กล้วย เป็นต้น

นอกจากนี้โปรตีนยังจำเป็นในการฟื้นฟูกล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายฟื้นตัวและกลับมาสู่สภาพปกติได้อย่างรวดเร็ว ลดอาการล้า อ่อนเพลีย และฟื้นฟูอาการบาดเจ็บภายหลังจากการวิ่งได้ ตัวอย่างอาหารที่เป็นแหล่งโปรตีนที่เหมาะสมภายหลังการวิ่ง ได้แก่ นมสด, นมถั่วเหลือง, ลูกชิ้นปิ้ง โปรตีนบาร์ เวย์โปรตีน, ซาลาเปาหมูสับ, ขนมจีบ, แซนวิชทูน่า, ไข่ต้ม, ถั่ว, ขนมถั่วกวน

ภายหลังจากการวิ่งหากน้ำหนักตัวลดลง ปากแห้ง ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม เวียนศีรษะ อ่อนเพลียแสดงว่าร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำเป็นอย่างมาก ควรดื่มน้ำอุณหภูมิเย็นพอควรเพื่อดับกระหาย ให้สดชื่นและชดเชยน้ำที่สูญเสียไปในขณะวิ่งให้เพียงพอ จนกระทั่งอาการดังกล่าวดีขึ้น

ในมลภาวะ pm2.5 จะออกกำลังกายอย่างไรดี

ควรแนะนำให้ ประชาชน ควรลดหรืองดการออกออกกำลังกายกลางแจ้ง แต่หากต้องการออกกำลังกายจริงๆ มีข้อคำแนะนำในการออกกำลังกายสำหรับประชาชนดังนี้

  1. สำหรับประชาชนทั่วไป ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหรือเข้าไปมีกิจกรรมที่ต้องใช้แรงกายมากกลางแจ้งเป็นระยะเวลานาน โดยหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก่อนออกกำลังกายกลางแจ้งควรปฏิบัติตามคำแนะนำ คือ
    1.1. ติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองจากช่องทางที่สามารถเชื่อถือได้

– เมื่อระดับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 สูงกว่า 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (ระดับสีส้ม) ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้ง เปลี่ยนมาเป็นออกกำลังกายในร่ม หรือในบ้านแทน เช่น เปิดคลิปวีดีโอออกกำลังกายประเภทต่างๆแล้วทำตามที่บ้าน หรือ ออกกำลังกายตามสถานที่ต่างๆที่มีสนามในร่ม เช่น คอร์ดแบดมินตัน วอลเล่ย์บอล บาสเกตบอล ปิงปอง สระว่ายน้ำในร่ม ฯลฯ

– เมื่อระดับฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 สูงกว่า 90 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (ระดับสีแดง) ให้งดการออกกำลังกายกลางแจ้ง เปลี่ยนมาเป็นออกกำลังกายในอาคาร สถานที่ออกกำลังกาย (ยิม) หรือว่ายน้ำในสระว่ายน้ำระบบปิดแทน

1.2. ไม่ควรสวมใส่หน้ากากอนามัย N 95 ขณะออกกำลังกายอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้ระบบหัวใจและหลอดเลือดทำงานหนักมากขึ้น เนื่องจากการออกกำลังกาย จะทำให้ร่างกายต้องหายใจแรงขึ้น เร็วขึ้น ลมผ่านทางปากเข้าปอดโดยตรงมากขึ้นกว่าหายใจปกติ

      2. สำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ เด็กเล็ก ผู้ป่วยด้วยโรคประจำตัว เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ หอบหืด ภูมิแพ้ โรคหัวใจ ซึ่งกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง ให้งดการออกกำลังกายกลางแจ้ง แนะนำให้พักผ่อนอยู่ในบ้าน เตรียมยาให้พร้อม หากออกจากบ้านให้สวมหน้ากากป้องกันและสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอบ่อย หายใจลำบาก หายใจถี่ หายใจมีเสียงวี๊ด แน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก ใจสั่น คลื่นไส้ เมื่อยล้าผิดปกติ ให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน

       3. สำหรับประชาชนที่นิยมการวิ่งแข่งขันมาราธอน ช่วงนี้แนะนำให้หลีกเลี่ยง หรืองดกิจกรรมดังกล่าวไปก่อน เพราะการวิ่งแข่งขันมาราธอนต้องใช้เวลาวิ่งกลางแจ้งเป็นเวลานานว่าปกติ ซึ่งการวิ่งเป็นระยะเวลานานจะส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้น และระยะยาว เพราะขณะวิ่งอัตราการหายใจจะเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ร่างกายต้อง หายใจลึกขึ้น หายใจเร็ว ผลระยะสั้นที่เกิดขึ้นต่อร่างกายทันที คือ ระคายเคืองทางเดินหายใจ เจ็บคอ น้ำมูกไหล ส่วนผลในระยาว คือ เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวาย หลอดเลือดในสมองตีบ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นต้น

แต่ทั้งนี้ ประชาชนสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ไม่ควรตื่นตระหนก แต่ให้ตื่นตัวและติดตามข่าวสารเรื่องดังกล่าวจากทางราชการอย่างใกล้ชิด และเมื่อคุณภาพอากาศดีขึ้น ก็ควรกลับมาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะการดูแลสุขภาพด้วยการออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุด จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ปอด หัวใจ และทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น